หลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬา ได้รับความเมตตาอย่างยิ่ง จาก พระเดชพระคุณ พระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในการบรรยายให้กับนิสิตระดับปริญญาเอก สาขาวิชาสันติศึกษา รุ่น ๔ มหาจุฬา ภายใต้หัวข้อ “บทบาทมหาจุฬา: พระธรรมทูตสายต่างประเทศกับการเสริมสร้างสังคมไทยและสังคมโลกเกิดสันติสุข” ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญของคณะสงฆ์และมหาจุฬาในการเสริมสร้างสังคมสันติสุข โดยหลวงพ่อรองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ได้เริ่มต้นจากความเป็นมาของมหาจุฬา กว่าจะเป็นมหาจุฬาในวันนี้ มีการพัฒนาจากยุคหนึ่งสู่ยุคหนึ่ง และมาลงถึงยุคปัจจุบันนี้
พระธรรมทูตสายต่างประเทศใช้สันติศึกษาเป็นฐานในการพัฒนาพระธรรมทูตสายต่างประเทศเพื่อออกไปทำงานกับชาวโลก ประโยคที่พระเดชพระคุณไว้กล่าวคือ #สันติภาพไม่มีทั่วโลก #สันติภาพมีในบางแห่ง ตัวเราบางครั้งไม่สันติภาพ บางครั้งเราก็สันติภาพ แต่สันติภาพในทางพระพุทธศาสนาคือ สันติที่แท้จริงคือ นิพพาน หมายถึง ความสงบจากภายใน จึงต้องทราบในหลักธรรม เช่น มรรค ๘ หนทางสู่การสร้างสันติภาพ ไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ส่วนบุญกิริยาวัตถุ คือ ทาน ศีล ภาวนา ซึ่งเป็นหลักธรรมไปสู่สันติภาพ ในกรณีความขัดแย้งในสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการเหยียดผิว ทำอย่างไรจะสามารถอยู่ร่วมกันได้ ? ศีล ๕ จึงเป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันในระดับสังคม เราจึงมองด้านสันติว่า เราจะใช้สันติระดับใด เช่น ระดับการอยู่ร่วมกัน ระดับสู่ภาวะความสงบ สันติภาพเพื่อสังคมจึงต้องรู้และนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปปรับใช้ในงานที่เราและงานวิจัยเพื่อสังคม มิติคำสอนอาจจะตีความหลักธรรมเพื่อสร้างความขัดแย้ง เรานักสันติภาพจะต้องระวังการตีความอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้ง หนทางที่เราจะไปนิพพานจะต้องปฏิบัติตามแนวทางวิปัสสนากรรมฐาน งานพระธรรมทูตจึงเป็นงานด้านการเผยแผ่ของคณะสงฆ์ มหาจุฬาใช้คำว่า #บริการสังคม ในมิติของ ๖ ด้านของกิจการพระพุทธศาสนา
มหาจุฬาจึงมีบทบาทมากในระดับโลกเช่น องค์การสหประชาชาติ เป็นต้น มหาจุฬาจึงมีเครือข่ายทั่วโลก ไม่ใช่เพียงศาสนาพุทธเท่านั้นรวมถึงทุกศาสนาทั่วโลก พระธรรมทูตเกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่พระพุทธเจ้าส่งพระสาวกออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ๖๐ องค์ พระธรรมทูตจึงเป็นผู้สารแห่งสันติภาพให้คนทั้งโลก ซึ่งมหาจุฬาเป็นผู้ฝึกอบรม ๓ เดือน ก่อนออกไปทำงานเพื่อความพร้อมทั้งภายนอกและภายใน ทำให้พระธรรมทูตทำงานเป็นทีม ขับเคลื่อนอย่างมีพลัง เราจึงมีพระธรรมทูตที่มีความเข้มแข็ง เราจึงมีวิทยาลัยพระธรรมทูต ใช้หลักสูตร ๙๐ วันเป็นหลักสูตรวุฒิบัตร และในอนาคตพัฒนาเป็นการศึกษาระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก หลักสูตร ๕ ปี ซึ่งมีความเข้มข้นในการฝึกอบรมอย่างมีความเป็นมาตรฐาน โดยมีภาควิปัสสนากรรมฐานเป็นสำคัญ โดยแบ่งยุคของพระธรรมทูต ๔ ยุค คือ ๑) ยุคดูแลคนไทย ๒) ยุคทำงานร่วมกับคนไทย ๓) ยุคทำงานร่วมกับคนพื้นที่และคนไทย ๔) ยุคทำงานร่วมกับคนพื้นที่ในประเทศนั้นๆ เต็มที่
คุณสมบัติของพระธรรมทูต จะต้องมี #วิชชาและจรณะ มาตรฐาน ๕ คือ ๑)ด้านความรู้ด้านพระพุทธศาสนา ๒)ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ๓)ด้านภาษา ๔ ภาษาขึ้นไป เช่น ภาษาท้องถิ่นประเทศนั้นๆ ภาษาอังกฤษ โดยมีอาจารย์ประจำตัวของนิสิตดูแลตลอดหลักสูตรการฝึกอบรมพระธรรมทูต ๔)ความเป็นพระธรรมทูต วัดโดยอาจารย์ที่ปรึกษาและพื้นที่นั้นๆ ๕)อื่น ความสามารถพิเศษ ศักยภาพ เป็นต้น ปัจจุบันเราขาดพระธรรมทูตที่มีควมเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากรรมฐานจึงต้องพัฒนาอย่างจริงจัง นอกจากนั้นบทบาทพระธรรมทูตจะต้องเชื่อมความสัมพันธ์กับทุกศาสนาและนิกายทั่วโลก พระธรรมทูตจึงถือว่าเป็นองครักษ์พิทักษ์พระพุทธศาสนา ทุกรูปเสียสละทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนากว้างขวางออกไปทั่วโลก พระธรรมทูตในสหรัฐอเมริกาจึงมีความเข้มแข็ง ทำให้มีการพัฒนาการมีธรรมทูตสำหรับบุคคลทั่วไป ในประเทศนอร์เวย์ เป็น #ธรรมทูตคฤหัสถ์ เพื่อช่วยกันเผยแผ่และรักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาสืบไป
ดังนั้น ในปัจจุบัน วัดยานนาวา เป็นสถานที่ตั้งในการกำกับดูแลพระธรรมทูตสายต่างประเทศ โดยให้วิทยาลัยพระธรรมทูตเป็นผู้ฝึกอบรมพัฒนาในภาคต่างๆ ในนามหลักสูตรสันติศึกษา กราบขอบพระคุณในความเมตตายิ่งของพระเดชพระคุณ พระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มจร ในโอกาสบรรยายพิเศษและสร้างบันดาลให้นิสิตสันติศึกษา
สาราณียธรรม
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร.
อาจารย์ประจำวิชามหาวิทยาลัยสงฆ์กับการเสริมสร้างสังคมสันติสุข
ณ ห้องเรียนออนไลน์สันติศึกษา มจร
๗ มิถุนายน ๒๕๖๓