ผู้บริหาร มจร ได้รับสมณศักดิ์ “อัคคมหาบัณฑิต”

ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ วิทยาลัยพระธรรมทูต และกองวิเทศสัมพันธ์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ขอถวายมุทิตาสักการะกับพระเทพปวรเมธี,รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ และขอถวายมุทิตาสักการะกับพระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ในโอกาสที่ได้รับการถวายสมณศักดิ์ “อัคคมหาบัณฑิต” จากคณะสงฆ์และรัฐบาลเมียนมา โดยมีท่านเอกอัครราชทูตสหภาพเมียนมาประจำประเทศไทย และคณะ เป็นผู้แทนคณะสงฆ์และรัฐบาลเมียนมา นำมามอบถวาย ในการนี้ เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) กรรมการมหาเถรสมาคม ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราชในพิธีประทานปริญญาบัตร ได้เมตตาเป็นผู้มอบตราประทับประจำตำแหน่ง “อัคคมหาบัณฑิต” เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2563 ณ อาคาร มวก. 48 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อธิการบดีรายงานปีนี้มีผู้ได้รับอนุบัติผู้จบปริญญาทั้งระดับปริญญาเอก ปริญญาโท และตรีรวมทั้งสิ้น 4,254รูป/คน 13 ธ.ค.”อภิสิทธิ์-บุญเกียรติ-จิมมี่ ชวาลา”เข้ารับมอบปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์จาก”สมเด็จพระวันรัต”
วันที่ 12 ธ.ค.2563  ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่มีพระนิสิตและนิสิตนานาชาติมากที่สุด มีการประสาทปริญญาประจำปี 2563 หลังจากเลื่อนมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโนน่าหรือโควิด -19 สำหรับการงานประสาทปริญญาวันแรกของมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งนี้ มีนิสิตและผู้ติดตามทยอยเดินทางมาจากวิทยาเขตทั่วประเทศหลายพันรูป/คน  ผู้ติดตามบางคนบางกลุ่มพักอยู่ตามอาคารและนั่งตามร่มไม้ต่าง ๆ ภายในบริเวณมหาวิทยาลัย ท่ามกลางอากาศที่ร้อนอบอ้าว

 สำหรับสถานที่จอดรถมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ขอความร่วมมือให้นิสิตและผู้ติดตามจอดอยู่ด้านนอกและด้านใน ในพื้นที่ ๆ  ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้ให้ โดยมีรถรางพ่วงคอยบริการรับส่งถึงอาคารหอประชุมใหญ่ (มวก.) ซึ่งเป็นสถานที่ประสาทปริญญา

เมื่อถึงเวลา 13.00 น. สมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม ผู้ได้รับบัญชาจากสมเด็จพระสังฆราช ให้ปฎิบัติหน้าที่แทน ได้เดินทางถึงหอประชุม มวก. โดยมีคณะผู้บริหาร กรรมการสภามหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ แขกผู้มีเกียรติและบัณฑิต ถวายการต้อนรับ

อย่างไรก็ตามเนื่องจากเมื่อต้นปีผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คือ พระเทพปวรเมธี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และพระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ได้รับถวายสมณศักดิ์ในตำแหน่ง “อัครมหาบัณฑิต”  จากคณะสงฆ์และรัฐบาลเมียนมา แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิดจึงไม่สามารถเดินทางไปรับในประเทศเมียนมาได้

ดังนั้นก่อนจะทีทำพิธีประสาทปริญญา นายอู-มโย-มยินตาน (U Myo Myint Than) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาประจำประเทศไทย ปฎิบัติหน้าที่แทนรัฐมนตรีกระทรวงศาสนาและวัฒนธรรมเมียนมา ได้ทำพิธีถวายตราตั้งอัครมหาบัณฑิตแด่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทั้งสองรูป

หลังจากประกอบพิธีถวายตราตั้งอัครมหาบัณฑิตจบเรียบร้อย พระราชปริยัติกวี อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้กล่าวรายงานแด่สมเด็จพระวันรัตความตอนหนึ่งว่า

“มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐกาลที่ 5 ได้ทรงสถาปนาขึ้น ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา ปริญญาเอก 12 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 19 สาขาวิชา ระดับปริญญาตรี เปิดสอนใน 4 คณะ คือ คณะพุทธศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ มี 23 สาขาวิชา ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตเปิดสอน 2 สขา คือ พระไตรปิฏกศึกษาและวิชาชีพครู ระดับมัธยมศึกษามี 2 แห่ง คือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและโรงเรียนบาลีศึกษา

การบบริการวิชาการแก่สังคม เช่น อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สถาบันภาษา สถาบันวิปัสสนาธุระ มหาจุฬาอาศรม และศูนย์พัฒนาแคมป์สน จังหวัดเพชรบูรณ์ มหาวิทยาลัยมีวิทยาเขต 11 แหง มีวิทยาลัยสงฆ์ 13 แห่ง มีสถาบันสมทบในต่างประเทศ 5 แห่ง ภายในประเทศ 1 แห่ง

ในพิธีประสาทปริญญาในครั้งนี้สภามหาวิทยาลัยมีมิตอนุบัติผู้จบปริญญาทั้งระดับปริญญาเอก ปริญญาโท และตรีรวมทั้งสิ้น 4,254 รูป/คน..”

หลังจากประสาทปริญญาบัตรเรียบร้อยแล้ว สมเด็จพระวันรัต ได้ให้โอวาทแก่บัณฑิตใหม่ ตอนหนึ่งว่า “การที่จะได้ชื่อว่าเป็นผู้รอบรู้ จำเป็นต้องอาศัยคุณธรรมสำคัญที่เรียกว่า พาหุสัจจะ อันหมายถึงความเป็นผู้ได้สดับมาก การได้ศึกษาเล่าเรียนมาก การมีความรู้ประสบการณ์มาก เรียกบุคคลผู้มีภาวะอย่างนั้นว่า พหูสูต คือ ผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมามาก มีความรู้มาก คงแก่เรียน และเป็นนักปราชญ์ พาหุสัจจะ เกิดขึ้นเองไม่ได้ หากจำเป็นต้องอาศัยการศึกษา และการศึกษาที่ดีล้วนเกิดจากการศึกษา 4 แบบ คือ การศึกษาด้วยการฟัง การศึกษาด้วยการคิด การศึกษาด้วยการสอบถาม และการศึกษาด้วยการจดจำบันทึก ท่านทั้งหลายเมื่อจบออกไปแล้ว ขออย่าได้ประมาท อย่าละทิ้งหัวใจนักปราชญ์ทั้ง 4 ประการนี้ ซึ่งจะทำให้ท่านเป็นผู้มีปัญญา สามารถเอาชนะปัญหาและอุปสรรคทั้งปวงได้..”

การประสาทปริญญาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปีนี้ มีการป้องกันโควิด -19 อย่างเข้มข้น  มีการนั่งเว้นระยะห่าง ทำให้นิสิตล้นออกมาทั้งชั้นล่างและชั้นบน มีการตรวตราอย่างเข้มงวด ทั้งเครื่องสแกนวัดอุณภูมิ ,เจลล้างมือ,และผู้เข้ายังอาคารทุกท่านต้องใส่แมสทุกคนไม่เว้นแม้กระทั้งพระภิกษุหรือแขกผู้มีเกียรติ

สำหรับวันที่ 13 ธ.ค.2563 จะมีพิธีประสาทปริญญาเป็นวันสุดท้าย โดยจะมีสมเด็จพระวันรัต และสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรรมการมหามหาเถรสมาคม จะเดินทางมาประกอบพิธีประสาทปริญญาแก่ผู้ได้รับดุษฎีกิตติมศักดิ์ เข็มเชิดชูเกียรติ และบัณฑิตคณะพุทธศาสตร์ สำหรับ ผู้ได้รับดุษฎีกิตติมศักดิ์ เข็มเชิดชูเกียรติ มีผู้ชื่อเสียงทั้งมากมาย ทั้ง พระภิกษุ นักการเมือง นักธุรกิจ ข้าราชการระดับสูงรับมอบ เช่น พระธรรมกิตติเมธี, พระไพศาลประชาทร วิ. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,นายบุญเกียรติ โชควัฒนา,นายจิมมี่ ชวาลา,นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย,นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ดังนี้เป็นต้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากเสร็จพิธีประสาทปริญญาแล้ว ได้มีพิธีถวายมุทิตาสักการะกับผู้บริหาร มจร ทั้ง 2 รูปดังกล่าว ที่พระอุโบสถกลางน้ำ วัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา

ทั้งนี้พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม พระภิกษุไทยที่เคยรับการถวายสมณศักดิ์ระดับ “อัครมหาบัณฑิต” ได้กล่าวเกี่ยวกับสมณศักดิ์ของคณะสงฆ์เมียนมาว่า

“สำหรับสมณศักดิ์ของเมียนมากับของไทยนั้นมีส่วนที่เหมือนกันคือมีจุดเริ่มมาจากประเทศศรีลังกา โดยสมณศักดิ์ พม่าในปัจจุบันอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกแบ่งได้เป็น ชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูง ในกลุ่มนี้จัดได้หลัก ๆ ด้วยกัน 3 สาย คือ สายวิชาการ สายเผยแผ่ และสายกรรมฐาน ในแต่ละสายแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ดังนี้
1. สายวิชาการ เรียกว่า คัณธะวาจะกะ แปลว่า ผู้สอนพระคัมภีร์หรือตำรา สมณศักดิ์นี้มอบทั้งแก่พระสงฆ์และแม่ชีและฆราวาสทั่วไป
ชั้นต้น เรียกว่า มูละคัณธะวาจะกะ
ชั้นกลาง เรียกว่า มหาคัณธะวาจะกะ
ชั้นสูง เรียกว่า อัครมหาคัณธะวาจะกะ

  1. สายเผยแผ่ เรียกว่า สัทธัมมโชติกะ แปลว่า ผู้ประกาศพระสัจธรรม สมณศักดิ์นี้มอบทั้งแก่พระสงฆ์และแม่ชีและฆราวาสทั่วไป

            ชั้นต้น เรียกว่า มูละสัทธัมมโชติกะ
ชั้นกลาง เรียกว่า มหาสัทธัมมโชติกะ
ชั้นสูง เรียกว่า อัคคมหาสัทธัมมโชติกะธะชะ

  1. สายกรรมฐาน เรียกว่า กัมมัฏฐานาจริยะ แปลว่า อาจารย์สอนกรรมฐาน สมณศักดิ์นี้มอบแก่พระสงฆ์เท่านั้น

              ชั้นต้น เรียกว่า มูละกัมมัฏฐานาจริยะ

              ชั้นกลาง เรียกว่า มหากัมมัฏฐานาจริยะ

             ชั้นสูง เรียกว่า อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ

กลุ่มที่ 2 เป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงที่สุดจริงๆ ที่มีมาจากเดิมจนถึงปัจจุบัน จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ชั้น
1.ชั้นต้น    เรียกว่า    ตรีปิฏกธร แปลว่า ผู้ทรงจำพระไตรปิฏก ( ผู้ที่สามารถท่องพระไตรปิฏกได้ทั้ง 3 ปิฏก )
2.ชั้นกลาง เรียกว่า อัครมหาบัณฑิต พระเถระที่จะได้สมณศักดิ์ชั้นนี้ต้องมีอายุอย่างน้อย 60 ปี
3.ชั้นสูงสุด เรียกว่า อถิธชมหารัฐคุรุ แปลว่า บรมครูแห่งแผ่นดินผู้ซึ่งชูธงแห่งพระศาสนา ผู้ที่จะได้รับสมณศักดิ์ชั้นนี้จะเป็น พระสังฆราช หรือ สมเด็จพระราชาคณะผู้ใหญ่เท่านั้นที่จะได้ และจะต้องมีอายุอย่างน้อย 80 ปี

ดังนั้น เมื่อสรุปดูแล้วสมณศักดิ์ของพม่าไม่ค่อยเกี่ยวกับการปกครอง ซึ่งต่างจากสมณศักดิ์ของไทย ที่มีเงื่อนไขว่า ใครจะได้สมณศักดิ์ก็จะต้องเป็น พระสังฆาธิการ ระดับผู้ช่วยเจ้าอาวาสขึ้นไป โดยคณะสงฆ์เมียนมายกอำนาจการปกครองคณะสงฆ์ให้กับ องค์กรสูงสุดของคณะสงฆ์ในพม่าที่เรียกว่า สังฆมหานายกสมาคม ซึ่งก็คือ มหาเถรสมาคมของเมียนมา ในสมาคมนี้มีกรรมการทั้งหมด 47 รูป..” ข่าวบ้านเมือง

Scroll to Top